นายสธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่เตรียมปรับเปลี่ยน โดยรวมกลุ่มการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน และลดชั่วโมงเรียนในระดับประถมศึกษาจาก 800 ชั่วโมงต่อปี เหลือ 600 ชั่วโมงต่อปี เนื่องจากระดับคุณภาพของเด็กไทยในทั้งสองวิชาอ่อนอยู่แล้ว และอาจจะกระทบเป็นวงกว้างในอนาคต โดยแนวคิดดังกล่าวสวนทางกับแนวความคิดที่จะพัฒนาเด็กไทยในด้านนี้ ซึ่งรัฐบาลเคยประกาศก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ แนวคิดการลดชั่วโมงเรียนลง และเพิ่มการเรียนรู้นอกห้องเรียน ศธ.จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าการเรียนนอกห้องเรียนคืออะไร เพราะอาจจะเปิดช่องให้โรงเรียนจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่ผู้ปกครองต้องจ่าย เงินเพื่อได้เข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น
นางนวลวรรณ สุนทรภิษัช รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า |ทั้งสองวิชาไม่ควรจะถูกรวมเป็นกลุ่มสาระเดียว และควรให้ความสำคัญเท่าเทียมกัน เพราะถือว่าเป็นรากฐานสำหรับนักเรียนที่จะไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ. และประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การควบรวมสองหลักสูตร ไม่ได้หมายความว่าให้ความสำคัญกับทั้งสองกลุ่มสาระน้อยลง อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าภาพรวมชั่วโมงเรียนจะลดลงทุกกลุ่มสาระ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนมากยิ่งขึ้น
“ในระหว่างการนำร่องหลักสูตรใหม่ จะเปิดช่องให้ทำประชาพิจารณ์ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรพื้นฐานให้ดีขึ้น ก่อนจะปรับใช้ทั่วประเทศ และเตรียมปรับตำราเรียนด้วยเช่นกัน”นายภาวิช กล่าว
แหล่งข่าวจาก posttoday…